fbpx
 

Parents’ CornerScreen Time – How Does It Affect Your Child and What Should We Do?

November 8, 2022

If you have kids, I’m sure you’ve questioned how much screen time is okay for your children.  In this digital age where electronic gadgets are necessities for most people’s daily lives, children are inevitably exposed to electronic screens at earlier ages.  And it is indeed important that these children grow up into digitally-literate adults with great command of technologies.  However, it is not uncommon to see children attached to their screens as digital pacifiers, especially when parents have their hands full with chores.   While technology has many benefits, it is important for us to understand how screen time affects our children and to take the right actions to minimize risks and protect our precious next generation.

A study in Singapore (Aishworiya et al, 2019) found that infant screen (TV) exposure has a negative association with later cognition.  The average amount of TV viewing at 12 months was 2 hours per day, and greater amount of screen time is associated with lower IQ score at 4.5 years old.  In another recent study (Liu et al, 2021) of approximately 2500 young children in China, the researchers found that higher screen time exposure at early childhood is associated with later emotional and behavioral problems.  Excessive screen time is also associated with developmental delay in children, in particular, in the language and communication development (Varadarajan et al, 2021).

These are just a few among numerous studies that have been conducted in this area.  The conclusion is clear: excessive screen time since early childhood is harmful to the child development and carries negative future consequences.  But you might argue that there are many educational apps that will benefit your child’s brain development.  Although there is a little truth to it, please remember that your goal should be raising and training your child to be successful in life.  No app or video game can replace real interaction with other human beings and train your child in relational skills they need in real world. Arlene Pellicane, author of the book “Screen Kids” (2020), recommended that we think of screen time as a digital vegetable (educational) or digital candy (purely entertainment).  Content does matter.  You may enjoy it in a reasonable amount, but it’s unhealthy when taken excessively.

So, what can you do about it?

  • First, be a good role model. We must begin by committing to put our children before our devices.  Will you give up your recreational phone time to spend quality time with your child where you are truly present and engaged with them?  It’s time to prioritize human interaction at home. Play ball, read books, go swimming, or just chat!
  • Second, protect your child’s sleep. Screen time often interferes with sleep. Not only that the blue light is giving the wrong signal to stay awake when it is actually night time, but let’s face it, we all had been there, unable to stop watching our favourite show even when our eyes and bodies cried for mercy.  Your child’s sleep is important on so many levels for their health, well-being, growth, and development.  Don’t let the screen steal sleep from your sweetheart!
  • Third, provide the stopping cue. It’s so hard for kids (and adults) to disengage from screen time because that’s how the digital media is now designed to be.  Most public health recommendations state no more than 2 hours of screen time for children older than 2 years old.  But most children spend significantly more time than that on screen time, which quickly adds up for the older children when they also need to use computer for schoolwork.  Apps and games can go on and on with no end in sight.  When you watch Youtube, the next video is lined up and plays right after the previous one ends.  It takes a lot more effort to stop watching than to continue watching. That’s why you as a parent has to step in and provide the stop cue.  Set a timer, or be clear that they are allowed only to watch one program/episode.
  • Fourth, find opportunity for your child to learn real world social skills. Pellicane talked about the 5A+ skills that every child needs in a tech-driven world in her book, Screen Kids (2020).  The skills are Appreciation, Anger Management, Apology, Attention, and Affection.  I totally recommend the book for you to read if you’d like to know more about how to teach these skills to your child.

Helping your children making digital changes in their life is definitely a difficult, and probably also, a very long journey.  You will meet lots of resistance from your child, and from your ownself.  This is a challenge for every parent in this digital era, and it has to start by making changes in your own life.  The journey of making wise choices when using screens in your family will pay off in the long run.

 

References:

Aishworiya, R., Cai, S., Chen, H.Y. et al. Television viewing and child cognition in a longitudinal birth cohort in Singapore: the role of maternal factors. BMC Pediatr 19, 286 (2019). https://doi.org/10.1186/s12887-019-1651-z

Liu, W., Wu, X., Huang, K. et al. Early childhood screen time as a predictor of emotional and behavioral problems in children at 4 years: a birth cohort study in China. Environ Health Prev Med 26, 3 (2021). https://doi.org/10.1186/s12199-020-00926-w

Chapman, G. D., & Pellicane, A. (2020). Screen kids : 5 relational skills every child needs in a tech-driven world. Northfield Publishing.

‌Varadarajan, S., Govindarajan Venguidesvarane, A. et al.  Prevalence of excessive screen time and its association with developmental delay in children aged <5 years: A population-based cross-sectional study in India. PLOS ONE, 16(7), e0254102 (2021). https://doi.org/10.1371/journal.pone.025410

——————————————————————–

 

เวลาหน้าจอ – มันส่งผลต่อลูกของคุณอย่างไร และคุณพ่อคุณแม่ควรทําอย่างไร?

หากคุณมีลูกฉันแน่ใจว่าคุณอาจตั้งคําถามว่าเวลานานแค่ไหนที่ถือว่าเหมาะสมที่จะให้ลูกของคุณอยู่กับหน้าจอไม่ว่าจะเป็น โทรทัศน์ มือถือ หรือ แท็บเล็ต ในยุคดิจิทัลนี้ที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสิ่งจําเป็นสําหรับชีวิตประจําวันของคนส่วนใหญ่ แน่นอนที่เด็กๆ ย่อมจะได้สัมผัสกับหน้าจออิเล็กทรอนิกส์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่งที่เด็กเหล่านี้จะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มีความรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยม  อย่างไรก็ตามไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเห็นเด็กๆ ติดอยู่กับหน้าจอเหมือนกับจุกนมแบบดิจิทัลโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพ่อแม่มีงานที่ต้องทำเต็มไม้เต็มมือและไม่มีเวลาให้ลูกได้อย่างเต็มที่   แม้ว่าเทคโนโลยีจะมีประโยชน์มากมาย แต่สิ่งสําคัญคือเราต้องทำความเข้าใจว่าเวลาบนหน้าจอจะส่งผลกระทบต่อลูกๆ ของเราอย่างไร และในฐานะพ่อแม่ เราควรต้องทำอย่างไรเพื่อลดความเสี่ยงและปกป้องลูกๆของเรา

งานศึกษาวิจัยที่สิงคโปร์ (Aishworiya et al, 2019) ค้นพบว่าการที่ให้เด็กทารกได้มองหน้าจอเป็นเวลานาน (TV) ส่งผลกระทบในเชิงลบในการเรียนรู้ของพวกเค้าในภายหลัง  ข้อมูลมาจากการศึกษาเด็กอายุ 12 เดือนที่ดูทีวีเฉลี่ย 2 ชั่วโมงต่อวัน และแสดงผลว่าการใช้เวลาบนหน้าจอของเด็กที่มากเกินไปส่งผลให้เค้ามีไอคิวที่ต่ำลงในเด็กอายุ 4 ขวบครึ่ง ในการศึกษาล่าสุดอีกชิ้นหนึ่ง (Liu et al, 2021) ของเด็กเล็กประมาณ 2,500 คนในประเทศจีน นักวิจัยพบว่าการเปิดรับเวลาหน้าจอที่สูงขึ้นในวัยเด็กมีความสัมพันธ์กับปัญหาทางอารมณ์และพฤติกรรมของพวกเค้าในภายหลัง  เวลาอยู่หน้าจอที่มากเกินไปยังเกี่ยวข้องกับพัฒนาการล่าช้าในเด็กโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาภาษาและการสื่อสาร (Varadarajan et al, 2021)

นี่เป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งในการศึกษาจำนวนมากเกี่ยวกับเรื่องนี้  ข้อสรุปนั้นชัดเจน: เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไปตั้งแต่วัยเด็กช่วงปฐมวัยเป็นอันตรายต่อการพัฒนาการของเด็กและมีผลกระทบด้านลบในอนาคต  แต่คุณอาจโต้แย้งว่ามีแอพการศึกษามากมายที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสมองของบุตรหลานของคุณ  แม้ว่าจะมีความจริงอยู่บ้าง แต่โปรดจําไว้ว่าเป้าหมายของคุณคือการเลี้ยงดูและฝึกฝนลูกของคุณให้พวกเค้าประสบความสําเร็จในชีวิต  ไม่มีแอปหรือวิดีโอเกมใดที่สามารถแทนที่การมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์จริงๆ และสามารถสอนลูกของคุณให้มีทักษะการสร้างความสัมพันธ์ที่พวกเขาต้องการในโลกแห่งความเป็นจริงได้  Arlene Pellicane ผู้เขียนหนังสือ “Screen Kids” (2020) แนะนําให้เราเปรียบการเสพสื่อการศึกษาที่อยู่บนหน้าจอเป็นเหมือนผักดิจิทัล (digital vegetable) หรือ ถ้าป็นสื่อเพื่อความบันเทิงอย่างเดียวก็เป็นเหมือนขนมหวานดิจิทัล (digital candy) จะเห็นว่าเนื้อหามีความสําคัญมาก และควรใช้เวลาบนหน้าจอในปริมาณที่พอเหมาะ ถ้ามากเกินไปก็จะสร้างผลเสียให้กับสุขภาพได้

คำถามคือแล้วพ่อแม่สามารถทําอะไรกับมันได้บ้าง

  1. จงเป็นแบบอย่างที่ดีให้กับลูก เริ่มต้นด้วยการหยุดการใช้อุปกรณ์ดิจิทัลต่างๆ ในขณะที่อยู่กับลูก คุณต้องถามตัวเองว่าคุณจะยอมสละเวลาโทรศัพท์เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจเพื่อใช้เวลาที่มีคุณภาพกับลูกของคุณและพยายามมีส่วนร่วมกับพวกเขาอย่างแท้จริงหรือไม่? ถึงเวลาแล้วที่จะให้ความสําคัญของการมีปฏิสัมพันธ์กับลูกที่บ้านเป็นอันดับหนึ่ง เช่นเล่นบอลกับพวกเค้า อ่านหนังสือให้พวกเค้าฟัง พาพวกเค้าไปว่ายน้ำ หรือเพียงแค่คุยกับพวกเค้า!
  2. ให้ความสำคัญกับการนอนหลับของลูกของคุณ เวลาอยู่หน้าจอมักรบกวนการนอนหลับ ไม่เพียงแต่แสงสีฟ้าที่ให้สัญญาณทำให้เด็กตื่นตัวในเวลากลางคืน อย่าว่าแต่เด็ก ผู้ใหญ่อย่างเราก็ไม่สามารถหยุดดูรายการโปรดของเราได้แม้ว่าเราจะง่วงขนาดไหนก็ตาม  การนอนหลับที่เพียงพอของเด็กมีความสําคัญอย่างมากต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของพวกเขา  อย่าปล่อยให้หน้าจอขโมยการนอนหลับจากคนรักของคุณ!
  3. ให้คิวหยุด (stopping cue) มันยากมากสําหรับเด็ก หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เองตาม ที่จะละวางในการใช้เวลาบนหน้าจอเพราะการสร้างการเสพติดที่สื่อดิจิทัลได้รับการออกแบบให้เป็นอยู่ในขณะนี้  คําแนะนําด้านสาธารณสุขส่วนใหญ่ระบุเวลาอยู่หน้าจอไม่ควรเกิน 2 ชั่วโมงสําหรับเด็กอายุมากกว่า 2 ปี  แต่เด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาหน้าจอมากกว่านั้นอย่างมีนัยสําคัญซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเด็กโตเมื่อพวกเขาจําเป็นต้องใช้คอมพิวเตอร์สําหรับการบ้าน  แอพและเกมก็เช่นกันที่ถูกออกแบบมาเพื่อสร้างการเสพติดในการใช้เวลาบนหน้าจอ  เมื่อคุณดู Youtube วิดีโอถัดไปจะถูกเรียงรายเข้ามาและเล่นทันทีหลังจากที่วิดีโอก่อนหน้าสิ้นสุดลง  ต้องใช้ความพยายามมากขึ้นในการหยุดดู นั่นเป็นเหตุผลที่คุณในฐานะผู้ปกครองต้องก้าวเข้ามาและให้คิวหยุด  ตั้งเวลาบนนาฬิกาเพื่อเตือนว่าหมดเวลา หรือบอกเด็กๆให้ชัดเจนว่าพวกเค้าได้รับอนุญาตให้ดูรายการแค่ตอนเดียวเท่านั้น
  4. ค้นหาโอกาสเพื่อให้บุตรหลานของคุณได้เรียนรู้ทักษะทางสังคมในโลกแห่งความเป็นจริง Pellicane พูดคุยเกี่ยวกับทักษะ 5A+ ที่เด็กทุกคนต้องการในโลกที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีในหนังสือ Screen Kids (2020) ของเธอ  ซี่ง 5 ทักษะดังกล่าว คือ ความชื่นชมยินดี (Appreciation), การจัดการความโกรธ (Anger Management), การขอโทษ(Apology), ความใส่ใจ (Attention) และความเสน่หา (Affection)  ฉันขอแนะนําหนังสือเล่มนี้ให้คุณอ่านหากคุณต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการสอนทักษะเหล่านี้ให้กับลูกของคุณ

การช่วยให้บุตรหลานของคุณเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในการเสพสื่อดิจิทัลเป็นเรื่องที่ไม่ง่ายและอาจจะใช้เวลาพอสมควร คุณจะได้พบกับแรงต่อต้านมากมายจากลูกของคุณและจากตัวคุณเองเอง  นี่เป็นความท้าทายสําหรับผู้ปกครองทุกคนในยุคดิจิทัลนี้ และคุณต้องเริ่มต้นจากตัวของคุณเองก่อน  ถ้าคุณเลือกและช่วยลูกของคุณเลือกใช้เวลาบนหน้าจออย่างชาญฉลาด มันจะส่งผลดีต่อครอบครัวคุณในระยะยาวอย่างแน่นอน

อ้างอิง:

Aishworiya, R., Cai, S., Chen, H.Y. et al. Television viewing and child cognition in a longitudinal birth cohort in Singapore: the role of maternal factors. BMC Pediatr 19, 286 (2019). https://doi.org/10.1186/s12887-019-1651-z

Liu, W., Wu, X., Huang, K. et al. Early childhood screen time as a predictor of emotional and behavioral problems in children at 4 years: a birth cohort study in China. Environ Health Prev Med 26, 3 (2021). https://doi.org/10.1186/s12199-020-00926-w

Chapman, G. D., & Pellicane, A. (2020). Screen kids : 5 relational skills every child needs in a tech-driven world. Northfield Publishing.

‌Varadarajan, S., Govindarajan Venguidesvarane, A. et al.  Prevalence of excessive screen time and its association with developmental delay in children aged <5 years: A population-based cross-sectional study in India. PLOS ONE, 16(7), e0254102 (2021). https://doi.org/10.1371/journal.pone.0254102

 

Content by

Eva Horia, Ph.D.

Vice Principal @ Oakbury International School

CONTACT US

Oakbury International School
99/9 Soi Ladphrao 35 Ladphrao Rd.,
Chatuchak District, Bangkok,
Thailand 10900
Phone: +66 92 599 9093
Email: office@oakbury.ac.th
Office Hours: Mon-Fri 8.00 AM – 4.00 PM

ACCREDITED by
https://i0.wp.com/oakbury.ac.th/wp-content/uploads/2023/09/MOE.jpg?fit=100%2C100&ssl=1
https://i0.wp.com/oakbury.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/opec-logo.png?fit=100%2C100&ssl=1
MEMBER of
https://i0.wp.com/oakbury.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/ISAT-150-%C3%97-150-px.jpg?fit=150%2C150&ssl=1
https://i0.wp.com/oakbury.ac.th/wp-content/uploads/2024/10/Untitled-design.png?fit=150%2C150&ssl=1
© Copyright 2022 Oakbury International School. All rights reserved.