fbpx
 

Parents’ CornerChildren’s Character Series: Teaching Emotional Regulation

March 11, 2024

One of the most crucial skills that children need to learn from a very young age is how to regulate and navigate their emotions. Regulating emotions plays a key role in building character as it contributes to the character traits of self-control, resilience, and patience.  This is also an essential aspect of their social and emotional development and a key life skill that will help them throughout their lives.

Humans are capable of experiencing many different emotions, with some studies documenting up to 27 distinct emotions. Anxiety, boredom, excitement, confusion, fear, admiration, envy, and satisfaction are just some of the emotions that your child may feel on a daily basis. Imagine your toddler sitting in the midst of a family gathering, feeling uncomfortable due to strange faces or bored by conversations. They may not understand what they are feeling, much less how to communicate it. Being overwhelmed by their own incomprehensible emotions, it is understandable that they respond in the only way they know: crying, tantrums, or aggression.

There are a few steps we can take to help our children navigate their wide range of emotions.

First, we need to recognize the moment when our children are experiencing emotional distress. When we have a close relationship with our children and are attentive to their behaviour, we can identify these moments even when they do not openly express their feelings.

Second, we need to remove them from the situation so they have the opportunity to cope with their feelings and calm down. Do you have a calm-down space where your child can take a break? Coach them to take a deep breath, count to ten, or redirect their focus to calming activities such as listening to music, drawing, or reading.

Third, help them to identify and label their emotions. At Oakbury, our teachers actively identify these emotional moments and make them into gentle teaching moments.  We also help them develop the vocabulary to express their emotions, including using various visual aids.

It is important to acknowledge and validate our children’s feelings and let them know that it’s natural to experience emotions; nonetheless, we also need to teach them the skills to manage their emotions and behaviours and guide them towards problem-solving. Remember that children learn best by example, watching how the adults around them express emotions in a healthy way. Therefore, the next time you have big feelings, be mindful of how you model positive ways to express them.   Finally, be patient with your child as developing this skill takes time and practice.

—————————————————————-

การสอนเด็กเล็กให้รู้จักกำกับอารมณ์ของตัวเอง (ซีรี่ย์การสร้างอุปนิสัยเด็ก)

ทักษะที่สําคัญที่สุดอย่างหนึ่งที่เด็กต้องเรียนรู้ตั้งแต่อายุยังน้อยคือเรียนรู้วิธีที่จะกำกับอารมณ์ของพวกเขา ความสามารถในการกำกับอารมณ์มีบทบาทสําคัญในการสร้างอุปนิสัยที่ดีให้กับเด็ก เนื่องจากมีส่วนช่วยทำให้เด็กรู้จักควบคุมตนเอง มีความยืดหยุ่น และความอดทน  นี่เป็นสิ่งสําคัญของการพัฒนาทางด้านสังคมและอารมณ์ของพวกเขา และเป็นทักษะชีวิตที่สําคัญที่จะช่วยพวกเขาตลอดชีวิต

มนุษย์สามารถสัมผัสกับอารมณ์ที่แตกต่างกันได้มากมาย โดยการศึกษาบางชิ้นบันทึกอารมณ์ที่แตกต่างกันมากถึง 27 อารมณ์ ความวิตกกังวล ความเบื่อหน่าย ความตื่นเต้น ความสับสน ความกลัว ความชื่นชม ความอิจฉา และความพึงพอใจ เป็นเพียงอารมณ์บางส่วนที่ลูกของคุณอาจรู้สึกในแต่ละวัน

ลองนึกภาพดู ลูกวัยหัดเดินของคุณนั่งอยู่ท่ามกลางการรวมตัวของครอบครัวรู้สึกอึดอัดเนื่องจากมีคนแปลกหน้าที่ไม่คุ้นเคยนั่งอยู่ด้วย หรือรู้สึกเบื่อหน่ายกับการสนทนาของพวกผู้ใหญ่ ซึ่งพวกเขาอาจไม่เข้าใจสิ่งที่พวกเขากำลังรู้สึกอยู่ด้วยซ้ำ นี่ยังไม่รวมว่าจะสื่อสารความรู้สึกนั้นออกมาให้พวกเราเข้าใจได้อย่างไร เพราะฉะนั้นไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กจะตอบสนองด้วยการร้องไห้ อารมณ์ฉุนเฉียว หรือ ก้าวร้าว ซึ่งเป็นวีธีเดียวที่พวกเข้ารู้จักดีในเวลาที่พวกเขาไม่สามารถรับรู้หรือเข้าใจอารมณ์ของตนเองได้

มีขั้นตอนสองสามขั้นตอนที่เราทําได้เพื่อช่วยให้ลูกของเราเข้าใจและสามารถกำกับอารมณ์ที่หลากหลายของพวกเขา

ขั้นตอนแรก เราต้องรับรู้ให้ได้ก่อนว่าช่วงเวลาไหนที่ลูกของเรากําลังประสบกับการรบกวนทางอารมณ์ ถ้าเราใกล้ชิดกับลูก ของเราและใส่ใจกับพฤติกรรมของพวกเขา เราสามารถระบุช่วงเวลาเหล่านี้ได้แม้ว่าพวกเขาจะไม่ได้แสดงความรู้สึกอย่างเปิดเผยก็ตาม

ขั้นตอนที่สอง เราต้องรีบพาพวกเขาออกจากสถานการณ์นั้นๆก่อน เพื่อให้พวกเขามีโอกาสที่จะรับมือกับความรู้สึกและสามารถสงบสติอารมณ์ได้ มันจะดีไม่น้อยถ้าคุณสามารถสร้างพื้นที่สงบๆสักแห่งไว้เพื่อให้ลูกของคุณสามารถพักจากอารมณ์ที่ถูกรบกวนได้ แล้วสอนให้พวกเขาหายใจเข้าลึกๆ นับหนึ่งถึงสิบ หรือเปลี่ยนโฟกัสไปที่กิจกรรมที่สงบเงียบ เช่น ฟังเพลง วาดรูป หรืออ่านหนังสือ

และขั้นตอนสุดท้าย ช่วยให้พวกเขาสามารถแยกแยะและบอกถึงอารมณ์ที่แตกต่างกันได้

ที่โรงเรียนนานาชาติโอ๊คบิวรี่ ครูของเราถูกฝึกให้มองหาช่วงเวลาแห่งอารมณ์เหล่านี้ของเด็กแล้วสอนพวกเขารู้จักที่จะกำกับอารมณ์ของพวกเขาเอง  นอกจากนี้เรายังช่วยให้พวกเขาพัฒนาคําศัพท์เพื่อแสดงอารมณ์รวมถึงการใช้โสตทัศนูปกรณ์อื่นๆ

สิ่งสําคัญคือต้องรับทราบ หมั่นคอยตรวจสอบความรู้สึกของลูกของเรา และบอกให้พวกเขารู้ว่าเป็นเรื่องปกติที่จะประสบกับอารมณ์อันหลากหลายที่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตาม เรายังต้องสอนทักษะในการจัดการอารมณ์และพฤติกรรมของพวกเขา และแนะนําพวกเขาไปสู่การแก้ปัญหา จําไว้ว่าเด็ก เรียนรู้ได้ดีที่สุดโดยดูตัวอย่างจากผู้ใหญ่ที่อยู่รอบตัวพวกเขา เราต้องแสดงให้พวกเขาเห็นเป็นแบบอย่างถึงวีธีการที่ถูกต้องและเหมาะสมในการแสดงอารมณ์ ดังนั้น ครั้งต่อไปที่คุณจะแสดงอารมณ์ต่อหน้าลูก ให้คํานึงถึงวิธีที่คุณจะเป็นแบบอย่างในเชิงบวกในการแสดงออกทางด้านอารมณ์อย่างเหมาะสม สุดท้าย อดทนกับลูกของคุณ เนื่องจากการพัฒนาทักษะนี้ต้องใช้เวลาและการฝึกฝน

Content by

Eva Horia, Ph.D.

Vice Principal @ Oakbury International School

CONTACT US

Oakbury International School
99/9 Soi Ladphrao 35 Ladphrao Rd.,
Chatuchak District, Bangkok,
Thailand 10900
Phone: +66 92 599 9093
Email: office@oakbury.ac.th
Office Hours: Mon-Fri 8.00 AM – 4.00 PM

ACCREDITED by
https://i0.wp.com/oakbury.ac.th/wp-content/uploads/2023/09/MOE.jpg?fit=100%2C100&ssl=1
https://i0.wp.com/oakbury.ac.th/wp-content/uploads/2022/05/opec-logo.png?fit=100%2C100&ssl=1
MEMBER of
https://i0.wp.com/oakbury.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/ISAT-150-×-150-px.jpg?fit=150%2C150&ssl=1
https://i0.wp.com/oakbury.ac.th/wp-content/uploads/2023/09/NDNA.png?fit=150%2C150&ssl=1
© Copyright 2022 Oakbury International School. All rights reserved.